สอบถามการให้บริการ / ข้อมูลต่างๆ
องค์การบริหารส่วนตำบลสาวแห อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
รายละเอียดการสอบถาม
กำหนดระยะเวลาการประเมินและชำระภาษี คือวันที่เท่าไหร่
1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องแจ้งการประเมินภาษี โดยส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือน กุมภาพันธ์ และผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี
2) พนักงานประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องแจ้งการประเมินภาษีไปยังเจ้าของที่ดินทุกแปลงตามรายการที่ได้รับแจ้งข้อมูลเอกสารสิทธิของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมที่ดิน
3) การแจ้งการประเมินภาษีจะแจ้งเพียงครั้งเดียวไม่มีการประเมินภาษีย้อนหลัง เว้นแต่กรณีพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจทบทวนการประเมินภาษีให้ถูกต้องตามที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ต้องเสียได้ภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาการชำระภาษีตามกฎหมาย
(โดย:นายวิรัช ศรีปัญญา เขียนเมื่อ:01 กุมภาพันธ์ 2566)
หากไม่เสียภาษีจะถูกยึดบ้านและที่ดิน หรือไม่
1) ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่มีเสียภาษีค้างชำระภายในเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนด 90 วันหลังจากวันที่ผู้เสีย ภาษีได้รับหนังสือแจ้งเตือนผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเพื่อนำเงินมาชำระภาษีค้างชำระได้แต่กฎหมายได้กำหนดไม่ให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีมากเกินกว่าความจำเป็นที่พอจะชำระภาษีค้างชำระดังกล่าว ดังนั้นผู้บริหารท้องถิ่นต้องสืบหา และยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่บ้านและที่ดินของผู้เสียภาษี เช่น เงินในบัญชีธนาคาร พันธบัตร เป็นต้น เพื่อนำมาชะระภาษีค้างก่อนเหลือเท่าใดให้คืนแก่ผู้เสียภาษี
2) ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีไว้แล้วถ้าผู้เสียภาษีนำเงินมาชำระภาษีค้างชำระก่อนที่จะมีการขายทอดตลาด ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีคำสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และดำเนินการแจ้งการถอนการยึดหรืออายัดไปยังเจ้าพนักงานผู้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่ชำระภาษีค้าง
(โดย:นางสาวสุกัญยา ไชยสุนทร เขียนเมื่อ:01 กุมภาพันธ์ 2566)
ผู้เสียภาษีสามารถชำระภาษีได้ที่ใดบ้าง
ผู้เสียภาษีสามารถชำระภาษีได้ที่สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือจะชำระผ่านไปรษณีย์ ธนาคาร หรือวิธีการอื่นใดที่จะกำหนดในภายหลังได้ เช่น E-payment ฯลฯ นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้ผู้แทนผู้เสียภาษีในกรณีต่างๆมาชำระภาษีได้ เช่น ผู้จัดการ ทรัพย์สิน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ผู้แทนของนิติบุคคล ผู้ชำระบัญชีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งหรือผู้แทน เป็นต้น
(โดย:นายจันทา ผิวใส เขียนเมื่อ:01 กุมภาพันธ์ 2566)
การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุและผู้พิการรายใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 เราต้องดำเนินการอย่างไร
การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุและผู้พิการรายใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 ตามรายละเอียดดังนี้
หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียน
คุณสมบัติผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนผู้สูงอาย
1. มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนำอยู่ในตำบลสาวแห ตามทะเบียนบ้าน
2. จะมีอายุคครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยเป็นผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2504 –1 กันยายน 2505 และยังไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน (ในกรณีที่ในทะเบียนราษฎรไม่ปรากฏวันที่ เดือนเกิดให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น)
3. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยกเว้นผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
4. กรณีที่เป็น พระ นักบวช แม่ชี สามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียนได้ แต่ต้องไม่ได้รับเงินจากทางคณะสงฆ์ที่จัดให้ประจำ
หลักฐานในการขอขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุ
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อม สำเนา 1 ฉบับ ( เซ็นชื่อ รับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย)
2. ทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อม สำเนา 1 ฉบับ (เซ็นชื่อ รับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย)
คุณสมบัติผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนคนพิการ
1.มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลสาวแห ตามทะเบียนบ้าน
2.มีบัตรประจำตัวคนพิการ
3.ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
หลักฐานในการขอขึ้นทะเบียนคนพิการ
1. บัตรคนพิการ พร้อม สำเนา 1 ฉบับ ( เซ็นชื่อ รับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย)
2. ทะเบียนบ้านตัวจริง พร้อม สำเนา 1 ฉบับ (เซ็นชื่อ รับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย)
(โดย:นางสุพรรณี บุญชม เขียนเมื่อ:14 กุมภาพันธ์ 2565)
ขอสอบถามเจ้าหน้าที่ๆรับผิดชอบไฟฟ้าแสงสว่างในหมู่บ้าน ตำบลสาวแห กรณีไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าตามถนนในหมู่บ้านไม่ติด เราชาวตำบลสาวแหควรทำอย่างไรและมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร
ทำหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะในพื้นที่ตำบลสาวแห แจ้งให้นายกทราบและนายกจะมอบหมายให้กองช่างออกไปดำเนินการ
(โดย:นายสังเวียน วงษ์จีน เขียนเมื่อ:11 กุมภาพันธ์ 2565)
สอบถามการเข้าร่วมรับฟังการประชุมสภา ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ
ผู้เข้ารับฟังการประชุม จะต้องนั่งฟังการประชุมในสถานที่ที่สภาองค์การบริหารส่วนตำบลทอนหงส์จัดไว้สำหรับผู้เข้ารับฟังการประชุมเท่านั้น และห้ามกระทำการดังต่อไปนี้
(1) กล่าวถ้อยคำใด ๆ หรือยื่นเอกสารต่อทีประชุมสภา หรือนำวัตถุใด ๆ มาแสดงในที่ประชุมสภา
(2) พูดคุยส่งเสียงดัง อันเป็นการรบกวนการประชุมสภาของที่ประชุมสภา
(3) สูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติดมึนเมาอื่นใด
(4) แสดงกิริยาอันพึงรังเกียจหรือไม่สุภาพเรียบร้อย
(5) ใช้เครื่องมือสื่อสารใด ๆ เป็นต้นว่า การใช้โทรศัพท์มือถือในระหว่างการเข้าฟังการประชุมสภา
(6) พกพาอาวุธ สิ่งเทียมอาวุธ หรือวัตถุอันตราย สิ่งผิดกฎหมาย เข้าไปฟังการประชุมสภา
(7) ก่อกวนความสงบเรียบร้อยหรือกระทำการให้เสื่อมเสียเกียรติของที่ประชุมสภา
(8) ถ่ายภาพหรือบันทึกภาพการประชุมสภา หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะดังกล่าวที่ไม่เหมาะสมและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาได้
(9) จดหรือบันทึกข้อความการประชุมสภา หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะดังกล่าว
(โดย:นิดา เขียนเมื่อ:20 มกราคม 2565)
6 รายการที่ดำเนินการแล้ว