messager
อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสาวแห อำนาจหน้าที่ของอบต. อบต.มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562) 1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้ 1.จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก 2.การรักษาความสะอาดของถนนทางน้ำทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัด ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 3.ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ 4.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5.ส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 6.ส่งเสริมการพัฒนาสตรีเด็กและเยาวชนผู้สูงอายุและพิการ 7.คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8.บำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 9.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย 3.มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขตอบต.ตามมาตรา 68 ดังนี้ 1.ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร 2.ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น 3.ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ 4.ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุมการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ 5.ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์ 6.ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว 7.บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ 8.การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 9.หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของอบต. 10.ให้มีตลาดท่าเทียบเรือและท่าข้าม 11.กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ 12.การท่องเที่ยว 13.การผังเมือง อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่เป็นการตัดอำนาจ หน้าที่ของกระทรวงทบวง กรมหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐในอันที่จะดำเนินกิจการใดๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบลแต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าวให้กระทรวงทบวง กรมหรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐนำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบการ พิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้ รับทราบข้อมูลและข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อใช้บังคับในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้แต่มิให้กำหนดโทษ ปรับเกินหนึ่งพันบาทเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ในส่วนของการบริหารงานนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งการบริหารงานออกเป็น สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและส่วนต่างๆที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งขึ้นโดยมีพนักงาน ส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถขอให้ข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็นและในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ใน อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง นอกจากนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือ ร่วมกับสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ทั้งนี้เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบลองค์การบริหาร ส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและกิจการนั้น เป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน